การปลูกผักแบบ ไฮโดรโปนิกส์ หรือ Hydroponics นั้นเป็นวิธีการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ในทางกลับกัน การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นจะใช้น้ำที่มีธาตุอาหารพืชละลายอยู่แทนนั่นเอง โดยวิธีการปลูกผักแบบนี้ถือว่าเป็นวิธีการใหม่ในการปลูกพืช โดยเฉพาะการปลูกผักและพืชที่ใช้เป็นอาหารนั่นเอง เนื่องจากการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นเป็นการประหยัดพื้นที่ แถมยังไม่ปนเปื้อนกับสารเคมีต่าง ๆ ในดินอีกด้วย ถืว่าเป็นวิธีนการปลูกผักได้พืชผักที่สะอาดเป็นอาหารเป็นอย่างมาก โดยในปัจจุบันนี้ การปลูกพืชไฮโดรโปนิกส์ยนั้นจะมีเทคนิคที่คิดค้นขึ้นใหม่หลากหลายรูปแบบ โดยจะไม่มีการจำกัดว่าจะต้องเป็นการปลูกพืชในน้ำ เท่านั้น โดยในบางกรณี อาจจะมีการใช้วัสดุปลูกที่สามารถทดแทนดินได้ทั้งหมด ซึ่งจะทำการรดด้วยสารละลายธาตุอาหารพืช โดยวันนี้เราได้มีประเภทของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ Hydroponics ให้ดูดังนี้
Nutrient Film Technique หรือ NFT

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์วิธีแรกได้แก่ Nutrient Film Technique หรือ NFT นั่นเอง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์วิธีนี้นั้นเป็นการปลูกพืช โดยการให้สารละลายที่มีธาตุอาหาร ซึ่งเป็นการให้ผ่านรากพืชที่ปลูกบนรางที่มีความลาดชันของรางปลูก โดยรางปลูกนั้นจะเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆขนาดประมาณ 1 – 3 มิลลิเมตร โดยพืชที่ปลูกได้ดีในระบบนี้เลยก็คือ ผักกินใบจำพวกสลัด โดยจะมีอายุประมาณ 45 – 50 วันนั่นเอง
Deep Flow Technique หรือ DFT
สำหรับวิธีปลูกผักไฮโดรโปนิกส์วิธีถัดมาก็คือ Deep Flow Technique หรือ DFT นั่นเอง สำหรับการปลูกผักแบบนี้จะเป็นการปลูกแบบลอยน้ำ ซึ่งจะเป็นการยกรางปลูกให้สูง ทั้งนี้ก็เพื่อให้รากของพืชลอยในอากาศนั่นเอง โดยส่วนปลายรากนั้นอยู่ในรางปลูก โดยมีสารละลายที่มีธาตุอาหารไหลผ่านนั่นเอง สำหรับผักไฮโดรโปนิกส์ที่นิยมปลูกด้วยวิธีจะมี ผักคะน้า ผักบุ้ง และผักโขมนั่นเอง
Dynamic Root Floating Technique หรือ DRFT
สำหรับวิธีปลูกผักไฮโดรโปนิกส์วิธีสุดท้ายได้แก่ Dynamic Root Floating Technique หรือ DRFT นั่นเอง สำหรับการปลูกผักวิธีนี้นั้นจะเป็นการปลูกพืชแบบน้ำเยอะ ซึ่งการปลูกผักแบบ Dynamic Root Floating Technique นั้นจะเป็นการนำแผ่นโฟมมาเจาะรู จากนั้นก็ทำการรองด้วยแผ่นพลาสติกใส่น้ำ สำหรับการปลูกผักด้วยระบบนี้นั้นจะเหมาะสำหรับปลูกผักไทย ไม่ว่าจะเป็นขึ้นฉ่าย หรือกะเพรา และจะไม่เหมาะกับการปลูกพืชทรงพุ่มแบบผักสลัด เนื่องจาก แผ่นโฟมนั้นสามารถทำความสะอาดได้ยาก ทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อโรคที่อยู่บนแผ่นโฟมอีกด้วย จึงทำให้ใบของต้นพืชเน่าและเสียหายได้นั่นเอง
http://www.h2ohydrogarden.com/
สนับสนุนโดย
ไฮโลไทย , ไฮโลไทยได้เงินจริง , เกมไฮโลไทยเว็บตรง