หากเราปลูกพืชในตระกูลส้ม ไม่ว่าจะเป็นส้มหรือมะนาว ก็จะมีโรคและแมลงซึ่งเป็นศัตรูอยู่ วันนี้เราจะมาว่ากันด้วย โรคและแมลงในตระกูลส้ม รวมถึงศัตรูของทั้งส้มและศัตรูของมะนาวด้วย ว่ามีอะไรบ้าง และเราสามารถที่จะกำจัดและแก้ไขได้อย่างไร ทั้งโรคและแมลง
โรคแคงเกอร์
โรคแคงเกอร์นั้น สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของผลไม้ หากเกิดในช่วงระยะผลอ่อน จะทำให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ หากรุนแรงจากผลจะร่วง หากพบต้นที่มีอาการ วิธีการที่ง่ายที่สุดคือ การตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคออก จากนั้นทำการเก็บเศษซากพืชที่ร่วงหล่น และกำจัดโดยการนำไปเผาทำลายทิ้งนอกแปลงปลูกทันที
จากนั้น จะทำการพ่นด้วยสารป้องกัน กำจัดโรคพืชกลุ่มสารประกอบทองแดง อาจเป็นสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% WP อัตราส่วน 30- 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สารคิวปรัสออกไซด์ 86.2 เปอร์เซ็นต์ WG ในอัตราส่วน 10-15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทางที่ดีควรเลือกกิ่งพันธุ์แต่แรก จากแหล่งปลูกที่ไม่มีการระบาดของโรคนี้ หรือใช้กิ่งพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ และหลีกเลี่ยงการนำกิ่งพันธุ์จากต้นที่เป็นโรคไปปลูกใหม่ด้วย
โรคกรีนนิ่ง
โรคกรีนนิ่ง หรือโรคใบเหลืองต้นโทรม นับเป็น โรคและแมลงในตระกูลส้ม ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในท่อลำเลียงอาหารของต้น ไปอุดตันท่อลำเลียง ทำให้พืชเกิดอาการกิ่งแห้งตาย จากส่วนยอดใบ ใบจะเป็นสีเหลือง ลักษณะคล้ายกับอาการขาดธาตุสังกะสี ต้นทรุดโทรม ใบมีขนาดเล็กลง ใบเรียวชี้ตั้ง ใบและผลร่วงก่อนถึงอายุเก็บเกี่ยว ทำให้ต้นตายภายใน 3-5 ปีหลังจากที่เกิดโรคขึ้น เป็นผลให้เกษตรกรได้ผลผลิตที่น้อยลง
พาหะของโรคนี้คือเพลี้ยกระโดดส้ม ที่จะเกิดขึ้นในระยะต้นส้มกำลังแตกใบอ่อน ซึ่งเพลี้ยพวกนี้จะเข้ามาดูดกินใบอ่อน ดังนั้นเกษตรกรควรหมั่นที่จะดูปริมาณของเพลี้ยกระโดดส้ม ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เมื่อพบแล้ว ให้เกษตรกรตัดแต่งใบอ่อนและยอดอ่อนที่ถูกเลี้ยงไก่แจ้ส้มเข้าทำลาย นำมาเผาไฟทิ้งอยู่นอกแปลงปลูก
จากนั้น ก็ทำการพ่นด้วยสารฆ่าแมลงอิมิดาโคลพริด 10% SL ในอัตรา 8 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดโนทีฟูแรน 10% WP ในอัตราส่วน 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร การนำมาปลูก แนะนำให้เกษตรกรใช้ต้นพันธุ์หรือกิ่งพันธุ์ที่ปลอดโรค แต่ถึงอย่างนั้น โดยปกติมักพบว่าต้นที่ปลอดโรค บางครั้งมักจะเริ่มแสดงอาการของโรคกรีนนิ่งภายหลังจากการปลูกแล้ว 1-2 ปี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ควบคุมค่อนข้างยาก
เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟนับว่าเป็นศัตรูของมะนาวและส้ม โดยปกติแล้วจะมาในระยะที่มีการติดผลอ่อน จะพบตั้งแต่เพลี้ยไฟตัวอ่อน และตัวเต็มวัยมาดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและผลอ่อน ส่งผลให้ใบผิดปกติ และผลมีลักษณะและแกร็น
ดังนั้น ในช่วงที่แตกใบอ่อนและผลอ่อน หากพบว่ามีเพลี้ยไฟทำลายผลมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ หรือพบว่าทำลายยอดมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ให้ทำการฉีดพ่นสารฆ่าแมลงอิมิดาโคลพริด 10% SL ในอัตราส่วน 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบฟูแรน 20% EC ในอัตราส่วน 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรก็ได้
เครดิสภาพ
https://www.shutterstock.com/th/
https://www.shutterstock.com/th/